วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คู่สองกลุ่ม C 13มิ.ย.53 อัลจีเรีย พบ สโเวเนีย

ทีมชาติอัลจีเรีย

ผู้จัดการทีม
ราบาห์ ซาดาเน่

ประวัติผู้จัดการทีม
เกิด 3 พฤษภาคม 1946
ราบาห์ ซาดาเน่ เป็นโค้ชทีมชาติแอลจีเรีย ที่แฟนบอลคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะนี่คือการคุมทีมบ้านเกิด เป็นคำรบที่ห้าแล้ว หลังก่อนนี้ 4 ครั้งเกิดขึ้นในปี 1981-82, 1958-86, 1999 และ 2003-04 โดยในระหว่างนั้น ซาดาเน่ เป็นโค้ชทีมชาติแอลจีเรีย ชุดฟุตบอลโลก 1986 ที่ เม็กซิโก นอกจากประสบการณ์คุมทีมชาติแล้ว ในอดีตสมัยเป็นนักเตะ เขาเล่นตำแหน่งกองหลัง และเคยค้าแข้งในยุโรปกับ แรนส์ ใน ฝรั่งเศส ยังเคยคุมทีมสโมสรอย่าง รายา คาซาบลังก้า, อีเอส เซติฟ และทีมชาติเยเมน (2004)



ข้อมูลทีม

''จิ้งจอกทะเลทราย'' สร้างชื่อ
ได้ยินชื่อ แอลจีเรีย อาจจะไม่คุ้นหูมากนักสำหรับศึกฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของพวกเขา เพียงแต่ครั้งสุดท้ายที่มีชื่อปรากฏอยู่ในทัวร์นาเมนต์นี้ต้องย้อนกลับไปปี 1986 ที่เม็กซิโกโน่น!
แอลจีเรีย อาจไม่มีประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่นัก เมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ ของทวีปแอฟริกา แต่พวกเขาก็เคยร่วมศึกฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย มาแล้ว 2 ครั้ง ปี 1982 ที่ ชิลี และ 1986 ที่ เม็กซิโก แม้จะตกรอบแรกทั้งสองครั้งก็ตาม
ความสำเร็จเดียวในประวัติศาสตร์ของประเทศคือการคว้าแชมป์แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ปี 1990 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพเอง ภายใต้การคุมทีมของ อับเดลฮามิด เคอร์มาลี หลังเอาชนะ ไนจีเรีย 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ
แม้ เคอร์มาลี จะเป็นกุนซือผู้เดียวที่ประสบความสำเร็จ แต่เขาคงลืมไม่ลงแน่ กับการปฏิเสธเรียกตัวดาวรุ่งอย่าง ซีเนดีน ซีดาน ติดทีมชาติในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ก่อนที่ ฝรั่งเศส จะคว้าตัวไปร่วมทัพหลังจากนั้น
แอลจีเรีย ในยุคปัจจุบัน อยู่ภายใต้การคุมทีมของ ราบาห์ ซาดาเน่ ที่เข้ามาคุมทีมเป็นครั้งที่ 5 เมื่อปี 2007 และผลงานชิ้นโบแดงของเขาอยู่ที่การล้ม อียิปต์ ยักษ์ใหญ่ของทวีป ในเกมเพลย์ออฟ ของรอบคัดเลือก รอบสุดท้าย คว้าตั๋วใบสุดท้ายของทวีปลุยศึกฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้อย่างยิ่งใหญ่
หลังจากนั้น ซาดาเน่ ก็พาทีมจิ้งจอกทะเลทราย คว้าอันดับ 4 ในศึกแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 2010 ที่แองโกลา เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งพวกเขาถูก อียิปต์ แก้แค้นได้ในเกมรอบรองชนะเลิศ
แม้ แอลจีเรีย จะมีผลงานที่น่าพอใจในศึกแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ แต่พวกเขาก็ยังต้องเร่งปรับปรุงทีมอีกมากก่อนที่ศึกฟุตบอลโลก จะมาถึง เพราะผลงานอุ่นเครื่องนัดเดียวที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น พ่าย เซอร์เบีย คาบ้านยับเยิน 0-3 เมื่อเดือนมีนาคม
ความหวังสูงสุดของทีมชุดนี้ อยู่ที่นักเตะที่มีประสบการณ์ในเวทียุโรปหลายต่อหลายคน อาทิ อับเดลกาแดร์ เกซซัล, ราฟิค ไซฟี, คาริม มัตมูร์, ยาซิด มันซูรี่, คาริม ซิยานี่, ฮัสซัน เย็บด้า, เมห์ดี้ ลาเชน, มูรัด เม็กห์นี่, นาดีร์ เบลฮัดจ์, อันตาร์ ยาเฮีย, มัดยิด บูเกอร์ร่า เป็นต้น
เป้าหมายของ แอลจีเรีย ในศึกฟุตบอลโลก 2010 จึงอยู่ที่การผ่านรอบแรกไปให้ได้ โดยมีอันดับ 2 ของกลุ่มซี เป็นเป้าหมาย ซึ่งเมื่อดูจากคู่แข่งอย่าง สหรัฐอเมริกา กับ สโลวีเนีย แล้ว พวกเขาดูจะมีความหวังมากทีเดียวกับการตาม อังกฤษ เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย




ผู้เล่น

หมายเลข ชื่อ สโมสร ตำแหน่ง
1 ลูเนส กาอูอุย เอเอสโอ เชล์ฟ ผู้รักษาประตู
2 มาดยิด บูเกร่า เรนเจอร์ส กองหลัง
3 นาดีร์ เบลฮาดจ์ พอร์ทสมัธ กองหลัง
4 อันตาร์ ยาเอีย โบคุ่ม กองหลัง
5 ราฟิค อัลลิเช่ นาซิอองนาล กองหลัง
6 ยาซิด มันซูรี่ ลอริยองต์ กองกลาง
7 รายอัด บูเดบูซ โซโชซ์ กองกลาง
8 เมห์ดี้ ลาเซ็น ราซิ่ง ซานตานเดร์ กองกลาง
9 อับเดลกาเดอร์ เกซซัล เซียน่า กองหน้า
10 ราฟิค ไซฟี อิสทร์ กองหน้า
11 ราฟิค เฌบบูร์ เออีเค เอเธนส์ กองหน้า
12 อาบิบ เบลลาอิด บูโลญจน์ กองหลัง
13 คาริม มัตมูร์ มึนเช่นกลัดบัค กองหน้า
14 คาร์ล เมดยานี่ อฌักซิโอ้ กองหลัง
15 คาริม ซิยานี่ โวล์ฟสบวร์ก กองกลาง
16 ฟาอูซี่ ชาอูชี่ อีเอส ซาตีฟ ผู้รักษาประตู
17 อั๊ดเลเน่ เกวดิอูร่า วูล์ฟส์ กองกลาง
18 อับเดลกาเดอร์ ไลฟาอุย อีเอส ซาตีฟ กองหลัง
19 ฮัสซัน เย็บด้า พอร์ทสมัธ กองกลาง
20 ฌาเมล เมสบาห์ เลชเช่ กองหลัง
21 ฟูเอด คาเดียร์ วาล็องเซียนส์ กองกลาง
22 ฌาเมล อับดูน น็องต์ กองกลาง
23 ราอิส เอ็มโบห์ลี่ สลาเวีย โซเฟีย ผู้รักษาประตู


สตาร์ประจำทีม
- ยาซิด มานซูรี่
- ราฟิค ไซฟี่

ผลงานรอบคัดเลือก
รอบสอง กลุ่ม 6 31-05-08 เยือน เซเนกัล 0-1
รอบ สอง กลุ่ม 6 06-06-08 เหย้า ไลบีเรีย 3-0
รอบสอง กลุ่ม 6 14-06-08 เยือน แกมเบีย 0-1
รอบสอง กลุ่ม 6 20-06-08 เหย้า แกมเบีย 1-0
รอบสอง กลุ่ม 6 05-09-08 เหย้า เซเนกัล 3-2
รอบสอง กลุ่ม 6 11-10-08 เยือน ไลบีเรีย 0-0
รอบสุดท้าย กลุ่ม ซี 28-03-09 เยือน รวันดา 0-0
รอบสุดท้าย กลุ่ม ซี 07-06-09 เหย้า อียิปต์ 3-1
รอบสุดท้าย กลุ่ม ซี 20-06-09 เยือน แซมเบีย 2-0
รอบสุดท้าย กลุ่ม ซี 06-09-09 เหย้า แซมเบีย 1-0
รอบสุดท้าย กลุ่ม ซี 11-10-09 เหย้า รวันดา 3-1
รอบสุดท้าย กลุ่ม ซี 14-10-09 เยือน อียิปต์ 0-2
เพลย์ออฟ 18-10-09 สนาม กลาง อียิปต์ 1-0

ทีมชาติสโลเวเนีย

ผู้จัดการทีม
มัตยาซ เค็ค

ประวัติผู้จัดการทีม
เกิด 9 กันยายน 1961
มัตยาซ เค็ค โด่งดังจากการเป็นกองหลังทีมดังของประเทศอย่าง มาริบอร์ ที่เขามีส่วนช่วยทีมคว้าแชมป์ลีก 3 สมัยระหว่างปี 1995 ถึง 1999 ก่อนแขวนสตั๊ด แล้วผันตัวมาทำงานโค้ช เริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ช่วยโค้ชในทีมเก่ามาริบอร์ 1 ซีซั่น และได้รับแต่งตั้งเป็นโค้ชเต็มตัวในปี 2000 พาทีมคว้าแชมป์ลีก 2 สมัย ในปี 2001 และ 2006 จากนั้นไปทำงานให้กับทีมชาติบ้านเกิด เริ่มด้วยระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี ต่อด้วยรุ่อายุไม่เกิน 16 ปี จนกระทั่งวันที่ 3 มกราคม 2007 เค็ค ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกุนซือทีมชาติชุดใหญ่


ข้อมูลทีม

ครั้งนี้ขอดีกว่าครั้งแรก
นับตั้งแต่ยูโกสลาเวีย ถูกแยกตัวออกเป็นเสี่ยงๆ เมื่อปี 1991 ชาติเล็กๆ ที่แยกตัวออกมาอย่าง โครเอเชีย, มาซิโดเนีย, บอสเนียฯ และสโลวีเนีย สามารถดึงนักเตะไปสร้างทีมใหม่ขึ้นมาได้ ตามแต่เชื้อชาติและความสมัครใจ แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับประเทศที่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์
โครเอเชีย กลายเป็นประเทศที่ตั้งหลักได้เร็วที่สุด เมื่อสามารถผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ฟุตบอลโลก 1998 ได้ในครั้งแรกทันที ร่วมทัวร์นาเมนต์เดียวกับยูโกสลาเวีย ที่ผ่านรอบคัดเลือกมาเช่นกัน หลังถูกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า สั่งแบนในฟุตบอลโลก 1994 จากเหตุสงครามภายในประเทศ
สำหรับสโลวีเนีย พวกเขาอาจสร้างทีมขึ้นมาช้า แต่ก็สามารถเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์ใหญ่ได้เป็นครั้งแรกในศึกยูโร 2000 ที่ฮอลแลนด์กับเบลเยียม เป็นเจ้าภาพร่วม ซึ่งทัวร์นาเมนต์นั้นเกิดความคลาสสิกตรงที่พวกเขาจับสลากอยู่กลุ่มเดียวกับ ยูโกสลาเวีย ซึ่งเปรียบเสมือนประเทศแม่
แม้สโลวีเนีย จะตกรอบแรกด้วยการเป็นบ๊วยของกลุ่ม ซี มีแค่ 2 คะแนน แต่ก็ถือเป็นคะแนนที่มีความหมายมาก เพราะหนึ่งในนั้นเป็นแต้มที่มาจากการเสมอ ยูโกสลาเวีย 3-3 ในนัดแรก ซึ่งถือเป็นผลงานที่ทำให้นักเตะทุกคนสามารถยืดอกได้แล้ว
ในที่สุด ชื่อของสโลวีเนีย ก็ได้เดินตามรอยเท้าของโครเอเชีย ในฟุตบอลโลก 2002 ที่ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพร่วม ซึ่งในครั้งนั้นพวกเขาก็ยังมีดาวดังจากชุดยูโร 2000 อย่าง ซลัทโก้ ซาโฮวิช, มิลาน ออสเติร์ก, อเลส เซห์ และ มิเลนโก้ อซิโมวิช อยู่ในทีม
อย่าง ไรก็ตาม การผจญภัยในโลกกว้างครั้งแรกของสโลวีเนีย จบไม่สวยตั้งแต่ทัวร์นาเมนต์ยังไม่ผ่านรอบแรก เมื่อซาโฮวิชมีปัญหากับ ซเร็คโก้ คาตาเน็ช โค้ชของทีมอย่างรุนแรง จนถูกส่งตัวกลับบ้านทันทีหลังจบเกมแรกที่แพ้ สเปน 1-3
การกลับสู่เส้นทางฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย เป็นครั้งที่ 2 ของสโลวีเนีย ในครั้งนี้ พวกเขาผ่านอุปสรรคมาอย่างโชกโชน โดยเฉพาะการผ่าน รัสเซีย ในรอบเพลย์ออฟ ด้วยกฎยิงประตูทีมเยือน หลังเสมอกันสองนัด 2-2 แม้จะไม่มีสตาร์ดังเหมือนยุคก่อน แต่ระบบทีมเวิร์กถือเป็นหัวใจสำคัญของ มัตยาซ เคค ผู้เป็นกุนซือ




ผู้เล่น

หมายเลข ชื่อ สโมสร ตำแหน่ง

ซาเมียร์ ฮันดาโนวิช อูดิเนเซ่ ผู้รักษาประตู

ยาสมิน ฮันดาโนวิช มันโตว่า ผู้รักษาประตู

อเล็คซานเดอร์ เซลิก้า สปาร์ต้า ผู้รักษาประตู

มิสโก้ เบร็คโก้ โคโลญจน์ กองหลัง

โบยาน โยคิช คิเอโว กองหลัง

มาร์โก้ ซูเลอร์ เกนท์ กองหลัง

บอสต์ยัน เซซ่าร์ เกรอน็อบ กองหลัง

บรังโก้ อิลิช โลโคโมทีฟ มอสโก กองหลัง

เอลเวดิน ดิซินิช มาริบอร์ กองหลัง

มาเตจ มาฟริช ทุส โคเบลนซ์ กองหลัง

ซูอัด ฟิเลโควิช มาริบอร์ กองหลัง
โรเบิร์ต โคเร็น เวสต์บรอมฯ กองกลาง

อเล็คซานเดอร์ ราโดซาฟล์เยวิช ลาริสซ่า กองกลาง

อันดราซ เคิร์ม วิสล่า คราคอฟ กองกลาง

อันเดรจ โคมัช มัคคาบี้ เทล อาวีฟ กองกลาง

ดาลิบอร์ สเตวาโนวิช วิเทสส์ กองกลาง

เรเน่ คริน อินเตอร์ มิลาน กองกลาง

วอลเตอร์ เบียร์ซ่า โอแซร์ กองกลาง

มิลิโวเย่ โนวาโควิช โคโลญจน์ กองหน้า

เนจช์ เป็ชนิค นาซิอองนาล กองหน้า

ซลาตัน ลูบิยานคิช เกนท์ กองหน้า

ซลัตโก้ เดดิช โบคุ่ม กองหน้า



สตาร์ประจำทีม
- มิลิโวเย่ โนวาโควิช
- โรเบิร์ต โคเรน

ผลงานรอบคัดเลือก
06-09-08 เยือน โปแลนด์ 1-1
10-09-08 เหย้า สโล วาเกีย 2-1
11-10-08 เหย้า ไอร์แลนด์เหนือ 2-0
15-10-08 เยือน สาธารณรัฐ เช็ก 0-1
28-03-09 เหย้า สาธารณรัฐเช็ก 0-0
01-04-09 เยือน ไอร์แลนด์ เหนือ 0-1
12-08-09 เหย้า ซานมารีโน 5-0
09-09-09 เหย้า โปแลนด์ 3-0
10-10-09 เยือน สโล วาเกีย 2-0
14-10-09 เยือน ซานมารีโน 3-0
เพลย์ออฟ นัดแรก 14-11-09 เยือน รัสเซีย 1-2
เพลย์ออฟ นัดสอง 18-11-09 เหย้า รัสเซีย 1-0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น